วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ไม้ประดับดูดสารพิษในที่ทำงาน



ชิ้นแรก คือ ลิ้นมังกร (Snake Plant) เป็นไม้ประดับโบราณที่ปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีใบโผล่
พ้นดินเป็นรูปหอกที่แข็งและยาว คุณสมบัติเด่นของต้นลิ้นมังกรคือ สามารถคายออกซิเจนออกมาตอนกลางคืน 
และดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทน อัตราการดูดสารพิษ ระดับ 3 ดาว

ชนิดที่ 2 พลูด่าง (Devil’s Ivy)เป็นไม้ประดับที่ลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ได้ถึงร้อยละ 75 และเมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมง ไม้ประดับอย่างพลูด่างจะต้องการแสงสว่างจากแสงแดดหรือไฟในอาคารพอสมควร ซึ่งพลูด่างสามารถดูดสารพิษได้ปานกลาง แต่คายความชื้นในอากาศได้ดีมาก อัตราการดูดสารพิษ ระดับ 4 ดาว

ชนิดที่ 3 ไทรใบเล็ก (Ficus Alii) เป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับยางอินเดีย แต่จะแตกต่างกันที่ลักษณะของใบ โดยไทรใบเล็กจะมีลักษณะขอบใบที่เรียบ และตัวใบจะมีความเรียว เล็ก เป็นมันเงา และมีปลายแหลมเป็นพิเศษ ซึ่งต้นไทรใบเล็กนี้ชอบแดดจัด และไม่ต้องการน้ำมาก อีกทั้งยังเป็นไม้ประดับที่ไม่ชอบน้ำขังอีกด้วยอัตราการดูดสารพิษ ระดับ 5 ดาว


ชนิดที่ 4 จั๋ง (Lady Palm) เป็นพืชตระกูลปาล์มอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั้งในและนอกอาคาร ลักษณะเป็นพุ่มกอ ใบมีสีเขียวเข้มแยกเป็นแฉกๆ เติบโตช้า เลี้ยงง่าย ทนแล้งได้ดี และสามารถทนขาดน้ำได้หลายวัน รวมถึงต้นไม้ประเภทนี้ต้องการแสดงแดดแค่ปานกลางเท่านั้นก็อยู่ได้แล้วอัตราการดูดสารพิษ ระดับ 5 ดาว


ที่มา: http://ch3.sanook.com/50187

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น